วันเสาร์ที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

sounding engineer


                คงเป็นสาขาที่ถูกใจของหลายๆคนที่สนใจในด้านวิศวะและดนตรี "วิศวกรรมการดนตรีและสื่อประสม" พึ่งได้มีการจัดตั้งขึ้นในสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง มีการเปิดรับรุ่นแรกในปี 2557 ซึ่งเป็นที่เดียวและที่แรกของประเทศไทยในขณะนี้ที่ได้มีการจัดตั้งคณะนี้ ขึ้นมา

เส้นทางสู่การเข้าวิศวกรรมดนตรีและสื่อประสม

               สำหรับการเข้าสู่คณะนี้ ในปัจจุบันมีเพียงการเปิดรับตรงของสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร ลาดกระบัง จากในปี 2557 ได้มีการรับนักศึกษาจำนวน 30 คน โดยมีวิธีการคัดเลือกพิจารณาจากคะแนน GAT/PAT และการสอบสัมภาษณ์ โดยที่จะใช้คะแนน GAT PAT1 PAT3 โดยมีน้ำหนักวิชา 30 20 และ 50 ตามลำดับ


   

โครงสร้างหลักสูตรวิศวกรรมดนตรีและสื่อประสม


   จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร                  ไม่น้อยกว่า       148     หน่วยกิต
         ก.  หมวดวิชาศึกษาทั่วไป                                                            30     หน่วยกิต
             กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์กับคณิตศาสตร์                                        6      หน่วยกิต
             กลุ่มวิชามนุษยศาสตร์                                                               6      หน่วยกิต
             กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์                                                                6      หน่วยกิต
             กลุ่มวิชาภาษา                                                                         12      หน่วยกิต

          ข.  หมวดวิชาเฉพาะ                                         ไม่น้อยกว่า       112     หน่วยกิต
             กลุ่มวิชาพื้นฐานทางวิศวกรรมศาสตร์                                       21     หน่วยกิต
             กลุ่มวิชาบังคับเฉพาะสาขา                                                       82    หน่วยกิต
                       ซึ่งแบ่งเป็น
                           - วิชาบังคับทางด้านวิศวกรรมศาสตร์                          35     หน่วยกิต
                           - วิชาบังคับทางด้านดนตรี                                          11      หน่วยกิต
                           - วิชาบังคับทางด้านเทคโนโลยีดนตรี                        26      หน่วยกิต
                           - วิชาบังคับทางด้านประสบการณ์วิชาชีพ                   10      หน่วยกิต
                             และโครงงานวิศวกรรม
               กลุ่มวิชาเลือกเฉพาะสาขา                             ไม่น้อยกว่า         9      หน่วยกิต
       
          ค.  หมวดวิชาเลือกเสรี                                                                        หน่วยกิต

สำหรัลหลักสูตรของคณะนี้จะเป็นไปตามดังนี้

ปีที่ ภาคการศึกษาที่ 1

 

รหัสวิชา
ชื่อวิชา
หน่วยกิต
(บรรยาย-ปฏิบัติ-ศึกษาด้วยตนเอง)
01136001
คณิตศาสตร์สำหรับวิศวกรรม 1
MATHEMATICS FOR ENGINEERING 1
3 (3-0-6)

01136005
ฟิสิกส์ของเสียง                     
PHYSICS OF SOUND
3 (2-3-6)
01136006
การโปรแกรมคอมพิวเตอร์         
COMPUTER PROGRAMMING
3 (2-3-6)

01136201
ทฤษฎีดนตรี 1            
MUSIC THEORY 1
2 (2-0-4)
01136203
ปฏิบัติคีย์บอร์ด 1                  
KEYBOARD SKILLS 1
1 (0-3-2)
01136212
สังคีตนิยม
MUSIC APPRECIATION
2 (2-0-4)

01136205
การเข้าฟังดนตรีและฝึกโสต 1     
RECITAL ATTENDANCE AND EAR TRAINING 1
0 (0-2-1)
90xxxxxx
วิชาในหมวดวิชาศึกษาทั่วไป
GENERAL EDUCATION
3 (3-0-6)
90xxxxxx
วิชาในหมวดวิชาศึกษาทั่วไป
GENERAL EDUCATION
3 (3-0-6)
01006027
กิจกรรมเตรียมความพร้อมสำหรับวิศวกร   
PRE-ENGINEERING ACTIVITIES
0 (0-3-0)

รวม
20



ปีที่ ภาคการศึกษาที่ 2

 

รหัสวิชา
ชื่อวิชา
หน่วยกิต
(บรรยาย-ปฏิบัติ-ศึกษาด้วยตนเอง)
01136002
คณิตศาสตร์สำหรับวิศวกรรม 2
MATHEMATICS FOR ENGINEERING 2
3 (3-0-6)

01136004
ความน่าจะเป็นและกระบวนการสุ่ม
PROBABILITY AND RANDOM PROCESS
3 (3-0-6)
01136007
วัสดุอะคูสติคและการออกแบบ
ACOUSTIC MATERIALS AND DESIGN
3 (2-3-6)
01136202
ทฤษฎีดนตรี 2
MUSIC THEORY 2
2 (2-0-4)
01136204
ปฏิบัติคีย์บอร์ด 2
KEYBOARD SKILLS 2
1 (0-3-2)
01136206
การเข้าฟังดนตรีและฝึกโสต 2     
RECITAL ATTENDANCE AND EAR TRAINING 2
0 (0-2-1)
90xxxxxx
วิชาในหมวดวิชาศึกษาทั่วไป
GENERAL EDUCATION
3 (3-0-6)
90xxxxxx
วิชาในหมวดวิชาศึกษาทั่วไป
GENERAL EDUCATION
3 (3-0-6)
90xxxxxx
วิชาในหมวดวิชาศึกษาทั่วไป
GENERAL EDUCATION
3 (3-0-6)
รวม
21



ปีที่ ภาคการศึกษาที่

 

รหัสวิชา
ชื่อวิชา
หน่วยกิต
(บรรยาย-ปฏิบัติ-ศึกษาด้วยตนเอง)
01136003
คณิตศาสตร์สำหรับวิศวกรรม 3
MATHEMATICS FOR ENGINEERING 3
3 (3-0-6)

01136101
การวิเคราะห์วงจรไฟฟ้า
ELECTRIC CIRCUITS ANALYSIS
3 (2-3-6)
01136102
อิเล็กทรอนิกส์วิศวกรรม
ENGINEERING ELECTRONICS
3 (2-3-6)
01136103
การออกแบบวงจรดิจิตอลและลอจิก
DIGITAL CIRCUITS AND LOGIC DESIGN
3 (2-3-6)
01136301
คอมพิวเตอร์ดนตรีและเทคโนโลยี
COMPUTER MUSIC AND TECHNOLOGY
3 (2-3-6)
01136207
การเข้าฟังดนตรีและฝึกโสต 3     
RECITAL ATTENDANCE AND EAR TRAINING 3
0 (0-2-1)
90xxxxxx
วิชาในหมวดวิชาศึกษาทั่วไป
GENERAL EDUCATION
3 (3-0-6)
90xxxxxx
วิชาในหมวดวิชาศึกษาทั่วไป
GENERAL EDUCATION
3 (3-0-6)
รวม
21


 

ปีที่ ภาคการศึกษาที่ 2

 

รหัสวิชา
ชื่อวิชา
หน่วยกิต
(บรรยาย-ปฏิบัติ-ศึกษาด้วยตนเอง)
01136104
ไมโครโปรเซสเซอร์และระบบฝังตัว
MICROPROCESSOR AND EMBEDDED SYSTEM
3 (2-3-6)
01136105
สัญญาณและระบบ
SIGNALS AND SYSTEMS
3 (3-0-6)
01136108
หลักการระบบสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์
PRINCIPLES OF ELECTRONIC COMMUNICATION SYSTEMS
3 (2-3-6)
01136211
การประพันธ์เพลงเบื้องต้น
INTRODUCTION TO MUSIC COMPOSITION
3 (2-3-6)
01136302
เทคโนโลยีเสียงเบื้องต้นและระบบเสียงดิจิตอล
INTRODUCTION TO AUDIO TECHNOLOGY AND DIGITAL AUDIO SYSTEMS
3 (2-3-6)
01136303
การบันทึกเสียงเบื้องต้น
INTRODUCTION TO SOUND RECORDING
3 (3-0-6)
01136208
การเข้าฟังดนตรีและฝึกโสต 4     
RECITAL ATTENDANCE AND EAR TRAINING 4
0 (0-2-1)
90xxxxxx
วิชาในหมวดวิชาศึกษาทั่วไป
GENERAL EDUCATION
3 (3-0-6)
รวม
21



ปีที่ ภาคการศึกษาที่ 1

 

รหัสวิชา
ชื่อวิชา
หน่วยกิต
(บรรยาย-ปฏิบัติ-ศึกษาด้วยตนเอง)
01136106
การประมวลผลสัญญาณดิจิตอล
DIGITAL SIGNAL PROCESSING
3 (2-3-6)

01136109
วิศวกรรมการแพร่ภาพกระจายเสียง
BROADCASTING ENGINEERING
3 (3-0-6)
01136111
วิศวกรรมอะคูสติค          
ACOUSTICS ENGINEERING
3 (3-0-6)

01136112
การออกแบบเครื่องดนตรีอิเล็กทรอนิกส์
ELECTRONIC MUSICAL INSTRUMENTS DESIGN
2 (1-3-4)

01136304
เทคนิคการบันทึกเสียงขั้นสูง             
ADVANCED SOUND RECORDING TECHNIQUES
3 (1-6-4)

01136305
การปรับแต่งคุณภาพเสียง                  
SOUND REINFORCEMENT
3 (2-3-6)
01136306
เทคนิคการผสมเสียงดนตรี
MUSIC MIXING TECHNIQUES
3 (2-3-6)
01136209
การเข้าฟังดนตรีและฝึกโสต 5     
RECITAL ATTENDANCE AND EAR TRAINING 5
0 (0-2-1)
รวม
20



ปีที่ ภาคการศึกษาที่ 2

 

รหัสวิชา
ชื่อวิชา
หน่วยกิต
(บรรยาย-ปฏิบัติ-ศึกษาด้วยตนเอง)
01136107
การประมวลผลสัญญาณเสียงดิจิตอล
DIGITAL AUDIO SIGNAL PROCESSING
3 (2-3-6)
01136110
ระบบเครือข่ายทางเสียง                               
NETWORK AUDIO SYSTEMS
3 (3-0-6)
01136307
การผลิตงานดนตรีและเสียง
MUSIC AND AUDIO PRODUCTION
3 (2-3-6)
01136308
เสียงสำหรับภาพยนตร์และโทรทัศน์
SOUND FOR FILM AND TELEVISION
2 (1-3-4)
01136309
อุปกรณ์สตูดิโอขั้นสูงและการศึกษา
ADVANCED STUDIO EQUIPMENTS AND STUDIES
3 (2-3-6)
01136403
เตรียมโครงงานวิศวกรรมดนตรีและสื่อประสม
 MUSIC ENGINEERING AND MULTIMEDIA PRE-PROJECT
1 (0-3-2)
01136402
สัมมนาทางวิชาชีพวิศวกรรมดนตรีและสื่อประสม
MUSIC ENGINEERING AND MULTIMEDIA PROFESSIONAL SEMINARS
0 (0-2-1)
01136210
การเข้าฟังดนตรีและฝึกโสต 6     
RECITAL ATTENDANCE AND EAR TRAINING 6
0 (0-2-1)
90xxxxxx
วิชาในหมวดวิชาศึกษาทั่วไป
GENERAL EDUCATION
3 (3-0-6)
90xxxxxx
วิชาในหมวดวิชาศึกษาทั่วไป
GENERAL EDUCATION
3 (3-0-6)
รวม
21


ปีที่ ภาคฤดูร้อน

 

รหัสวิชา
ชื่อวิชา
หน่วยกิต
(บรรยาย-ปฏิบัติ-ศึกษาด้วยตนเอง)
01136401
การฝึกงานอุตสาหกรรมภาคฤดูร้อน                  
INDUSTRIAL SUMMER TRAINING
0 (0-45-0)
รวม
0


  

ปีที่ ภาคการศึกษาที่ 1

 

รหัสวิชา
ชื่อวิชา
หน่วยกิต
(บรรยาย-ปฏิบัติ-ศึกษาด้วยตนเอง)
01136405
สหกิจศึกษาและพัฒนาอาชีพ               
CO-OPERATIVE EDUCATION
6 (0-45-0)

รวม
6


 

ปีที่ ภาคการศึกษาที่ 2

 

รหัสวิชา
ชื่อวิชา
หน่วยกิต
(บรรยาย-ปฏิบัติ-ศึกษาด้วยตนเอง)
011365xx
วิชาเลือกเฉพาะสาขา
MUSIC ENGINEERING ELECTIVE
3 (x-x-x)
011365xx
วิชาเลือกเฉพาะสาขา
MUSIC ENGINEERING ELECTIVE
3 (x-x-x)
011365xx
วิชาเลือกเฉพาะสาขา
MUSIC ENGINEERING ELECTIVE
3 (x-x-x)
01136404
โครงงานนวัตกรรมวิศวกรรมดนตรีและสื่อประสม
 MUSIC ENGINEERING AND MULTIMEDIA INNOVATION PROJECT
3 (0-9-0)
xxxxxxxx
วิชาในหมวดวิชาเลือกเสรี
FREE ELECTIVE
3 (x-x-x)
xxxxxxxx
วิชาในหมวดวิชาเลือกเสรี
FREE ELECTIVE
3 (x-x-x)
รวม
18



แนวทางการประกอบอาชีพทางวิศวกรรมดนตรีและสื่อประสม 

               สำหรับอาชีพทางสาขานี้ คงหนีไม่พ้นเรื่องเกี่ยวกับเสียงแน่ๆ ซึ่งก็มีทั้งทางที่ตรงสายอย่างการเป็นวิศวกรด้าน Sound Engineer หรือ Light and Sound Control ในสถานประกอบการกลุ่มอุตสาหกรรมดนตรี เช่น คอนเสิร์ตเล็กใหญ่ หรือจนกระทั่งไปถึงระดับโรงละคร เป็นต้น นอกจากนี้ยังสามารถเป็นวิศวกรผลิตสื่ออุตสาหกรรมภาพยนต์ เกม แอนิเมชั่นได้ รวมถึงวิศวกรด้านระบบเสียงในอุตสาหกรรมรถยนต์ โรงภาพยนต์ สถานีวิทยุ สถานีโทรทัศน์ และอื่นๆอีกมากมาย


               หากผู้ที่สนใจสามารถเข้าไปรับข้อมูลเพิ่มเติมได้ตาม link นี้นะครับ  https://www.youtube.com/watch?v=lJCrZThHv80